ท้องใหญ่ไม่ได้แปลว่าตั้งครรภ์ แต่คุณอาจจะเป็นท้องมาน แบบไม่รู้ตัว

ท้องใหญ่ไม่ได้แปลว่าตั้งครรภ์ แต่คุณอาจจะเป็น “ท้องมาน” แบบไม่รู้ตัว

ท้องมาน” หรือที่เรียกอีกหนึ่งว่า “ท้องบวม” เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง อาการของผู้ป่วยจะทำให้ท้องใหญ่คล้ายกับการตั้งครรภ์ แต่จริง ๆ แล้วในท้องเต็มไปด้วยการสะสมของเหลวที่มากกว่าปกติหรือมากกว่า 25 มิลลิลิตรในช่องเพอริโตเนียล สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อีกทั้งอาจจะนำมาถึงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ในอนาคต วันนี้ รัตตินันท์ คลินิก เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคท้องมานเพื่อที่จะเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้กระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับโรค “ท้องมาน”

ส่วนมากโรคนี้มักจะพบกับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเพราะการทำงานที่ผิดปกติของตับจะทำให้เกิดของเหลวสะสมอยู่ระหว่างเยี่อหุ้มช่องท้องและอวัยวะภายในช่องท้องได้ ซึ่งจะสามารถเกิดได้แบบเฉียบพลันหรือบางรายอาจจะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ การสะสมของเหลวนี้จะทำให้ช่องท้องของผู้ป่วยมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติ สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด หายใจไม่สะดวก เนื่องจากน้ำในท้องไปกดทับบริเวณกระบังลมหรือบริเวณปอด มีความเสี่ยงที่จะทำให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพต่ำลงและล้มเหลวได้

สัญญาณเตือนของการเป็นท้องมานคืออาการมีไข้สูง หรือ มีอาการคล้ายกับการเป็นหวัด หายใจลำบาก มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความอยากอาหารลดลง มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืดและแสบร้อนกลางอก ในบางรายอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย สัญญาณเหล่านี้อาจจะบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเป็นโรคท้องมาน

สาเหตุของการเกิดโรค “ท้องมาน”

  • โรคที่เกี่ยวกับตับเพราะว่าโรคท้องมานเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของตับก่อให้เกิดของเหลวในเยี่อหุ้มช่องท้องและอวัยวะภายใน ยกตัวอย่างเช่น โรคตับแข็ง โรคไวรัสตับอักเสบบี อาการมีริมเลือดในตับ เป็นต้น
  • แอลกอฮอล์มีผลกับตับโดยตรง หากใครที่เสพติดแอลกอฮอล์มักจะเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ หรือ โรคตับแข็ง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการท้องมานได้
  • มีเชื้อมะเร็ง เช่น มะเร็งตับอ่อน มะเร็งมดลูก หรือ มะเร็งรังไข่ โดยส่วนมากจะเกิดกับเชื้อมะเร็งที่อยู่ในบริเวณช่องท้องเท่านั้น
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ภาวะไตวาย
  • ภาวะขาดไทรอยด์ หรือ ไฮโปไทรอยด์
  • มีเชื้อวัณโรค

โรค “ท้องมาน” อันตรายหรือไม่

อาการของโรคท้องมาสามารถแบ่งความรุนแรงได้ 4 ระดับ ดังนี้

  • ระดับที่ 1 ถือเป็นการป่วยในระยะแรกสำหรับคนที่เป็นโรคท้องมาน ซึ่งจะพบน้ำในบริเวณช่องท้องจำนวนน้อย ต้องทำการตรวจเฉพาะจุดจึงจะพบ ไม่สามารถตรวจพบได้ในการตรวจแบบทั่วไป
  • ระดับที่ 2 ในระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีน้ำในบริเวณช่องท้องแต่จะมีปริมาณไม่มากนัก สามารถตรวจพบได้ง่ายกว่าระยะแรก โดยส่วนมากจะพบจากการฉายรังสี
  • ระดับที่ 3 ในระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีน้ำในช่องท้องจำนวนมากขึ้น บริเวณท้องเกิดอาการบวมน้ำแต่ท้องยังไม่มีขนาดใหญ่และยังไม่แข็งตึง
  • ระดับที่ 4 ระดับนี้ถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุด ผู้ป่วยจะมีน้ำในช่องท้องจำนวนมากส่งผลให้ท้องโตมีความตึงและเกิดอาการท้องแข็งนำมาสู่อาการเจ็บปวดอื่น ๆ เช่น อาการปวดท้อง หายใจไม่สะดวก หรือ ภาวะแทรกซ้อนของการเป็นโรคอื่น ๆ เช่นโรคมะเร็ง โรคตับ หรือ ภาวะไตวาย เป็นต้น

การรักษาโรค “ท้องมาน” ในปัจจุบัน

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นได้มีการพัฒนาไปอย่างก้าวไกลทำให้โรคท้องมานไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด ก่อนอื่นแพทย์จะเริ่มซักประวัติของผู้ป่วย จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายซึ่งสามารถทำได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็น การเคาะเพื่อหาน้ำในช่องท้อง การตรวจความดันโลหิต การทดสอบร่างกายด้วยท่า puddle sign  หรือการเอกซเรย์ช่องท้อง ในการรักษาโรคท้องมานแพทย์จะทำการรักษาตามอาการหรือตามโรคที่ผู้ป่วยเป็น ในบางรายอาจจะมีสาเหตุมาจากโรคตับ ภาวะไตวาย หรือมาจากโรคมะเร็ง โดยจะมีขั้นตอนการรักษาหลัก ๆ ดังนี้

  • จำกัดปริมาณโซเดียมจากอาหาร
  • การขับปัสสาวะ สามารถทำได้โดยการทานยา
  • การเจาะระบายช่องน้ำในท้อง
  • การทำท่อบริเวณหลอดเลือดดำ
  • การรักษาอาการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง

โรคท้องมานมักจะพบในผู้ป่วยที่มีโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนมาก่อน ผู้ที่ไม่มีอาการเสี่ยงจะเป็นโรคดังกล่าวก็ไม่สามารถเกิดโรคท้องมานได้ แม้ฟังจะดูน่ากลัวแต่ความเป็นจริงแล้วโรคท้องมานไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิดหากรักษาอย่างถูกวิธี ยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้พัฒนาอย่างล้ำสมัยจนทำให้การรักษานั้นง่ายและเห็นผลเร็ว หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นท้องมาน ควรรีบทำการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาให้ถูกวิธีก่อนจะเข้าสู่ภาวะอันตราย

Author: beauty