ภาวะหนังหุ้มปลายตีบ คืออะไร ปัญหาสุขภาพที่หนุ่มๆ ต้องรู้

ภาวะหนังหุ้มปลายตีบ คืออะไร ปัญหาสุขภาพที่หนุ่มๆ ต้องรู้!

ปลายหุ้มองคชาตมีโอกาสที่จะเกิดการตีบได้ ถึงแม้โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีได้น้อยก็ตาม แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะหนังหุ้มปลายตีบหรือภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบกัน

ภาวะหนังหุ้มปลายตีบ คืออะไร

ภาวะหนังหุ้มปลายตีบ (Phimosis) คือ ภาวะที่ผิวหนังสวนปลายขององคชาตมีการหดตัวเกิดขึ้น ซึ่งการหดตัวนี้ทำให้ส่วนปลายไม่สามารถเปิดขึ้นได้ โดยปกติผิวหนังที่บริเวณส่วนปลายองคชาตจะสามารถเปิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเมื่อผู้ชายเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แต่หากมีภาวะหนังหุ้มปลายตีบ ผิวหนังบริเวณนี้จะไม่เปิดออก ถ้าหากไม่มีภาวะติดเชื้อหรือปัสสาวะไม่ออก ภาวะนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากมีการติดเชื้อหรือปัสสาวะไม่ออก ภาวะนี้จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย จำเป็นต้องรีบทำการรักษาทันที

ชนิดของภาวะหนังหุ้มปลายตีบ

การที่หนังหุ้มปลายตีบที่เกิดขึ้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ตามลักษณะการเกิดของหนังหุ้มปลายตีบ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1.หนังหุ้มปลายองคชาติตีบทางสรีรวิทยา (Physiologic Phimosis)

คือ การเกิดภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบที่เกิดตั้งแต่เกิด ภาวะนี้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและหายได้เองตามธรรมชาติ โดยเด็กที่มีภาวะนี้จะหายได้เองเมื่ออายุประมาณ 5-7 ปี

2.หนังหุ้มปลายองคชาติตีบทางพยาธิวิทยา (Pathologic Phimosis)

คือ ภาวะหนังหุ้มปลายตีบที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อ ทำให้เกิดรอยแผลที่บริเวณปลายหุ้มองคชาต ภาวะหนังหุ้มองคชาตตีบชนิดนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ชายที่มีอายุมากหรืออยู่ในวัยผู้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้อวัยวะเพศเกิดการอักเสบและติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น

อาการของภาวะหนังหุ้มปลายตีบ

อาการของโรคนี้มีทั้งแบบที่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายและแบบที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายทันที ซึ่งอาการของผู้ที่เกิดภาวะหนังหุ้มปลายตีบมีดังนี้

1.บริเวณผิวหนังส่วนปลายขององคชาตเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ปลายองชาตและผิวหนังส่วนปลายบวมแดง และมีอาการปวดเกิดขึ้นร่วมด้วย

2.ปัสสาวะติดขัด รู้สึกปวดองคชาตเวลาที่ปัสสาวะ หากมีภาวะหนังหุ้มปลายตีบรุนแรงจะทำให้ปัสสาวะไม่ออก

3.หากองคชาตเกิดการแข็งตัวจะรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณส่วนปลายและทั้งองคชาต

จะเห็นว่าหากรู้สึกว่าองคชาตมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด เพื่อที่จะได้ทำการรักษาทันที ก่อนที่อาการจะรุกลามและเป็นอันตรายมากขึ้น

สาเหตุของภาวะหนังหุ้มปลายตีบ

จากการศึกษายังไม่พบถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบ เพราะจากสถิติพบว่าสาเหตุหลัก ๆ  ที่ทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้นคือ

1.การติดเชื้อที่ส่วนปลายขององคชาต

การติดเชื้อเป็นสาเหตุที่ก่อใช้เกิดภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบบ่อยที่สุด ซึ่งการติดเชื้อไม่ว่าที่บริเวณผิวหนังส่วนปลายหรือองคชาตส่วนปลาย ล้วนเป็นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหนังหุ้มปลายตีบได้ทั่งคู่ โดยการติดเชื้อที่บริเวณส่วนปลายจะทำให้เกิดพังผืดที่บริเวณส่วนปลายขององคชาต ทำให้ไม่สามารถเปิดผิวหนังส่วนปลายออกได้นั่นเอง

2.ผิวหนังส่วนปลายเกิดความผิดปกติ

ความผิดปกติของเนื้อเยื่อผิวหนังส่วนปลายองคชาต เช่น ไม่ยืดหยุ่น แข็งกระด้าง เป็นต้น ทำให้ผิวหนังที่บริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อแข็ง ไม่ยืดหยุ่น จึงไม่สามารถขยับให้เปิดออกได้

3.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะเกิดการติดเชื้อที่อวัยวะต่าง ๆ ได้มากกว่าคนปกติ ไม่เว้นแม้แต่ภาวะหนังหุ้มปลายตีบ ดังนั้นจึงพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีอาการหนังหุ้มปลายตีบเกิดขึ้นร่วมด้วย

4.อายุ

ผู้สูงอายุปริมาณคอลลาเจนในเนื้อเยื้อผิวหนังและสารหล่อเลี้ยงผิวหนังมีปริมาณน้อยลง ทำให้ผิวหนังไม่สามารถยืดหยุ่นหรือเกิดการแข็งตัวมากขึ้น ทำให้ผิวหนังบริเวณที่มีการขยับหรือเคลื่อนตัวมีความสามารถในการเคลื่อนตัวน้อยลงหรืออยู่กับที่ไม่เคลื่อนตัวได้ จึงมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหนังหุ้มปลายตีบในผู้สูงอายุได้

การรักษาภาวะหนังหุ้มปลายตีบ

การรักษาจะแบ่งออกเป็น 2 แบบตามลักษณะชนิดของภาวะหนังหุ้มปลายตีบที่เกิดขึ้นดังนี้

1.หนังหุ้มปลายองคชาติตีบทางสรีรวิทยา (Physiologic Phimosis)

ภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถแบ่งการรักษาออกเป็น 2 แบบ คือ

  • ภาวะที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน

สำหรับภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบทางสรีรวิทยาที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน ถือเป็นภาวะที่ไม่อันตรายต่อเด็ก เพราะเด็กยังสามารถปัสสาวะและใช้งานองคชาตได้ตามปกติ การรักษาจึงสามารถใช้ระยะเวลานานได้ โดยแพทย์จะสอนผู้เลี้ยงดูให้ทำการรูดเปิดผิวหนังหุ้มปลายองคชาตให้เปิดออกทีละน้อย จนในที่สุดผิวหนังบริเวณปลายเปิดออกปกติ

  • ภาวะที่มีอาการแทรกซ้อน

หากมีภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบทางสรีรวิทยาที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น ปัสสาวะไม่ออก องคชาตบวม องคชาตแดง เป็นต้น แพทย์จะต้องทำการรักษาให้ผิวหนังปบริเวณปลายองคชาตเปิดออกในระยะเวลาอันสั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์สำหรับทาภายนอกช่วยให้ผิวหนังปลายองคชาตเปิดออก หรือหากการทายายังไม่ได้ผลก็จะใช่การขลิบผิวหนังปลายองคชาตออกไป

2.หนังหุ้มปลายองคชาติตีบทางพยาธิวิทยา (Pathologic Phimosis)

การรักษาภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบทางพยาธิวิทยาที่เกิดขึ้นในขั้นแรกจะทำการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก เพื่อทำให้ผิวหนังส่วนปลายเปิดออก แต่ถ้าการใช้ยาไม่เป็นผลจะใช้การผ่าตัดเพื่อเปิดผิวหนังส่วนปลายขององคชาตให้เปิดออกหรือทำการขลิบผิวหนังส่วนปลายที่หุ้มออก เพื่อช่วยให้ปลายองคชาตเปิดและใช้งานได้ตามปกติ

จะเห็นว่าภาวะหนังหุ้มปลายตีบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กและผู้ใหญ่ ดังนั้นหากหนังหุ้มปลายองคชาตไม่สามารถเปิดออกได้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะเกิดอาการแทรกซ้อน

Author: beauty